โครงคอนกรีตไม่ว่าจะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือคอนกรีตที่ไม่มีเหล็กเสริม หรือคอนกรีตที่ไม่มีเหล็กเสริม หากออกแบบ
ส่วนผสมคอนกรีตได้เหมาะสม เช่น อัตราส่วน น้ำ:ซีเมนต์ (w/c) ไม่เกิน 0.55 คอนกรีตนั้นก็จะมีความสามารถในการป้องกัน
การรั่วซึมได้ แต่ในความเป็นจริง ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกเช่น ความสมบูรณ์ของเนื้อคอนกรีต เช่น อาจจี้ไม่แน่น มีรูพรุน
หรือโพรงในเนื้อคอนกรีต เนื้อคอนกรีตเมื่อแข็งตัว อาจมีรอยร้าว ซึ่งการทำระบบกันซึมให้ได้ผลดี จำเป็นต้องซ่อมรอยรั่วซึม โพรงรูพรุนต่างๆ ให้เรียบร้อยสมบูรณ์ก่อน จึงทำระบบกันซึมได้
การทำระบบกันซึมโดยหลักการ จึงเป็นการนำเอาวัสดุที่ทึบน้ำ ยืดหยุ่น มาปิดทับผิวคอนกรีตด้านที่รับน้ำ เพื่อกันไม่ให้น้ำ
ซึมผ่านเนื้อคอนกรีต
วัสดุกันซึม สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
1. Sheet Membrane ซึ่งจะเป็นวัสดุ พวก Bituminus PVC หรือ Rubber etc.
2. Liquid Membrane มีหลากหลายชนิด ได้แก่ Cement Base Polyurethane Acrylic etc.
3. Crystallization Liquid เป็นน้ำยาที่สารประกอบที่มีซิลิเกทเป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับปูนขาวในคอนกรีต
4. Admixture เป็นพวกน้ำยาที่ใช้ผสมในคอนกรีต ซึ่งมีหลายชนิด น้ำยาในกลุ่มนี้ถ้าจะให้ได้ผลดี ต้องใช้ตั้งแต่ขั้นตอน
การออกแบบส่วนผสมคอนกรีต |